พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 มิถุนายน 2556 - 09 มิถุนายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday June 4, 2013 07:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 มิถุนายน 2556 - 09 มิถุนายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกชุก เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคไหม้ ซึ่งมักระบาดในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลคุณภาพน้ำภายในบ่ออย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมถึงควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับ กั้นขอบบ่อเลี้ยงเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก และสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ รวมทั้งซ่อมแซมโรงเรือนไม่ให้ฝนสาดและอับชื้น เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผักควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างและโรคใบจุด

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. ด้านตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนัก ผู้ที่ปลูกพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับอากาศที่มีความชื้นสูงชาวสวนกล้วยไม้ควรดูแลโรงเรือนเพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 3-5 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ช่วงนี้จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกร ที่ต้องการปลูกพืชไร่และพืชสวนรอบใหม่ควรยกร่องแปลงปลูกให้สูง รวมทั้งจัดการแปลงปลูกให้มีระบบการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในช่วงที่ฝนตกหนัก
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง สวนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่นเงาะ มังคุด และทุเรียน เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำขังบริเวณที่ลุ่มได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชผักควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 3-6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำขังบริเวณที่ลุ่มได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชผักควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงนี้ บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ตลอดช่วง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ