พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 มิถุนายน 2556 - 23 มิถุนายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday June 18, 2013 07:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 มิถุนายน 2556 - 23 มิถุนายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น สภาพอากาศชื้น ชาวสวนลำไย ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคผลเน่า และหนอนเจาะขั้ว
  • สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง อาจเกิดโรคพืชจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผัก เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และโรคใบจุด เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรคดังกล่าว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคไหม้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะรวมทั้งดูแลโรงเรือนไม่ให้ฝนสาดและอับชื้นเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับ เกษตรกรที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวไม่ควรหว่านกล้าแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงกล้า ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคไหม้ในต้นกล้า

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • สัปดาห์นี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงจะทำให้เชื้อราเจริญเติบโต ได้ดี ชาวสวนผลไม้จึงควรหมั่นเก็บผลที่เน่าเสียหรือ ร่วงหล่นตามพื้นดินไปทำลาย ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลควรระวังป้องกันผลกระทบจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ทางตอนบนของภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม ชาวสวนควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดโรครากเน่าและโคนเน่า
  • สัปดาห์นี้ บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลควรระวังป้องกันผลกระทบจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • ทางตอนบนของภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม ชาวสวนควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดโรครากเน่าและโคนเน่า
  • สัปดาห์นี้ บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลควรระวังป้องกันผลกระทบจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ