พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 มิถุนายน 2556 - 02 กรกฎาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday June 27, 2013 06:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 มิถุนายน 2556 - 02 กรกฎาคม 2556

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. — 2 ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนตกซึ่งอาจจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรบริเวณนอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรในระยะต่อไปที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุก เกษตรกรควรกักเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ปริมาณฝนลดลงในระยะต่อไป รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สำหรับผลผลิตของพืชไร่ที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลาย

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปที่มีฝนตกน้อยด้วย
  • ระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชไร่และพืชผักในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปที่มีฝนตกน้อยด้วย
  • ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชบริเวณสวนให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส - ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
  • ทางตอนล่างของฝั่งตะวันออกจะยังคงมีฝนตกไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย
  • ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค.ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มขึ้น สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรควรป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชผัก
  • ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. — 2 ก.ค. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ