พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 กรกฎาคม 2556 - 23 กรกฎาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday July 18, 2013 08:56 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 กรกฎาคม 2556 - 23 กรกฎาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ไม้ผล เช่น ลำใยที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรหมั่นสำรวจหากพบผลที่เน่าเสีย หรือแมลงเข้าทำลาย ควรปลิดออกและนำไปกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังผลอื่นๆ
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และพืชตระกูลถั่วในระยะนี้ควรป้องกันการระบาดของโรคเน่าคอดิน โดยปรับพื้นที่ให้มีการระบายน้ำที่ดี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง สวนยางพาราบริเวณตอนบนของภาค ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ควรกรีดยางขณะที่ต้นยางเปียกอยู่ เพราะอาจเกิดโรคเส้นดำ รวมทั้งทาหน้ากรีดยางด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เช่น โคและกระบือ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผักไว้ด้วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • ส่วนสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งหมั่นสำหรวจภายในสวน อย่าปล่อยให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น และรากพืชเป็นเวลานานจะทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า
  • ในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17- 19 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ในช่วงนี้คลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง คลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ