พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 02 สิงหาคม 2556 - 08 สิงหาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday August 5, 2013 06:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 สิงหาคม 2556 - 08 สิงหาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยดูแลบริเวณแปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับลำไยที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่ง และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งเก็บกวาดผลที่เน่าเสียร่วงหล่นไปกำจัดไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-4 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค และมีลมแรง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 2-4 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียมสถานที่อพยพสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์ และเมล็ดพันธุ์พืชไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 3-5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกพืชให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 3-5 และ 7-8 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังและป้องกันอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่ สภาพอากาศที่ชุ่มชื้นอาจทำให้ศัตรูพืชจำพวกหนอนระบาด เกษตรกรจึงควรหมั่นสังเกต หากพบการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดไปยังผลอื่นๆ
  • บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 2-5 และ 7-8 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • ทางฝั่งตะวันตกในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง รวมทั้งทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช
  • บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ