พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 สิงหาคม 2556 - 13 สิงหาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday August 8, 2013 08:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 สิงหาคม 2556 - 13 สิงหาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ช่วงวันที่ 7-9 ส.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยทางตอนบน และด้านตะวันออกของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • สำหรับชาวสวนลำไยที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วควรตัด แต่งกิ่ง และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไปกำจัดไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค กับมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ช่วงวันที่ 7-9 ส.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยทางตอนบนของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังความเสียหายเนื่องจากฝนตกหนัก ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิและสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมาก งด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชไร่และพืชผักในระยะนี้ควรยกร่อง แปลงปลูกให้สูงกว่าปกติ และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝน จะเพิ่มขึ้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. จะมีฝนตกชุกหนาแน่นและฝนตกหนัก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศมีความชื้นสูง มักเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชผัก โรคไหม้ในข้าว โรครากเน่าและโคนเน่าในไม้ผล เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าวด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนและโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง โดยหมั่นสำรวจสภาพภายในสวน หากพบการระบาดของโรคและศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนและโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง โดยหมั่นสำรวจสภาพภายในสวน หากพบการระบาดของโรคและศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก
  • ในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ