พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 สิงหาคม 2556 - 25 สิงหาคม 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday August 20, 2013 07:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 สิงหาคม 2556 - 25 สิงหาคม 2556

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. เกษตรกรทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรจากฝนตกหนัก
  • บริเวณที่มีฝนตกติดต่อกัน สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ในข้าวและโรคราน้ำค้างในข้าวโพด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. เกษตรกร โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรจากฝนตกหนัก
  • สำหรับชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลแล้วจับไปทำลาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค. จะมีฝนตกชุก และฝนตกหนักทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำในพื้นที่ปลูกอ้อยอย่าให้น้ำท่วมขัง รวมทั้งหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชและกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ เพราะสภาพอากาศที่ชุ่มชื้นมักมีโรคพืชจากเชื้อราระบาดแพร่หลาย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงมิให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ รวมทั้งดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝน ฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอ และเป็นโรคได้
  • ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • บริเวณตอนบนของภาคจะมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. ชาวสวนผลไม้และสวนยางพาราควรดูแลอย่าให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เพราะจะทำให้เกิดโรครากเน่าและโคนเน่าได้
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ชาวสวนควรเก็บผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไปทำลาย ไม่ควรกองสุมในบริเวณสวน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  • ในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 22-25 ส.ค.

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ