พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 สิงหาคม 2556 - 29 สิงหาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday August 26, 2013 06:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 สิงหาคม 2556 - 29 สิงหาคม 2556

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-25 และ 29 ส.ค. ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส

-ในช่วงวันที่ 23-25 และ 28-29 ส.ค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบเพราะอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
  • สำหรับชาวสวนส้มควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่า โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และอย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส

-ในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค. และ 28-29 ส.ค. มีฝนตกหนักโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว

  • สำหรับชาวนา ควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับไปทำลาย
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชผักควรดูแลแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาดได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 28-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบการระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อเอาไว้ ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ ฝนตกหนักและน้ำหลาก

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 23-24 และ 28-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ชาวสวนผลไม้และสวนยางพารา ควรดูแลบริเวณสวน ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรกองเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ตลอดจนหญ้าแห้งไว้บริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของศัตรูพืช
  • สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-24 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางเป็นต้น ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-24 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางเป็นต้น ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ