พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 สิงหาคม 2556 - 05 กันยายน 2556

ข่าวทั่วไป Monday September 2, 2013 06:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 สิงหาคม 2556 - 05 กันยายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 ส.ค.- 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคเน่าคอดินในถั่วเขียว และถั่วเหลืองเป็นต้น

-สำหรับผู้ที่ปลูกไม้ผลในระยะนี้ไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้บริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 ส.ค.- 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

-สำหรับพืชไร่ที่ปลูกไปแล้วควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแส้ดำในอ้อย โรคใบจุดในมันสำปะหลัง เป็นต้น หากพบการระบาดควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาดเป็นบริเวณกว้าง

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 ส.ค.- 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากในช่วงฤดูฝนศัตรูสัตว์ เช่น เหลือบ ริ้น ไร เป็นต้นจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรจึงควรระวังสัตว์เหล่านี้มารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกั้นขอบบ่อเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีน้ำไหลบ่า

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 30 ส.ค.- 1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 2 — 5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

-สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณสวนเพราะจะทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้โดยเฉพาะโรครากน่าโคนเน่าในทุเรียน ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชซึ่งจะทำให้เป็นโรครากเน่าโคนเน่า

-สำหรับทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตทางผลแต่ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหาย

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 4 — 5 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชซึ่งจะทำให้เป็นโรครากเน่าโคนเน่า

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ