พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 02 กันยายน 2556 - 08 กันยายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday September 3, 2013 07:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 กันยายน 2556 - 08 กันยายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 2 - 4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุก ผู้ที่ปลูกข้าวควรระวังการระบาดของหอยเชอรี่ ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโตได้
  • สำหรับชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันความชื้นสะสมในสวน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ระยะนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
  • ช่วงนี้สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังป้องกันการระบาดของโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย.จะมีฝนตกชุก ผู้ที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไป ยังต้นอื่น
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลง รวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากโตได้ขนาดควรรีบทยอยจับขายไปก่อน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ย.จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูงชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โดยดูแลสวนยางให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

-สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณสวนเพราะจะทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้โดยเฉพาะโรครากเน่า โคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงมีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทาง ตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนมากกว่า ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและดูแล หากพบผลที่ถูกสัตว์กัดแทะหรือเป็นโรค ควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคระบาดไปยังผลอื่น
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรลดความชื้นภายในสวน โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 2-4 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทาง ตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนมากกว่า ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและดูแล หากพบผลที่ถูกสัตว์กัดแทะหรือเป็นโรค ควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคระบาดไปยังผลอื่น
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรลดความชื้นภายในสวน โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ