พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 กันยายน 2556 - 03 ตุลาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday September 30, 2013 06:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 กันยายน 2556 - 03 ตุลาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. และในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ก.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้มีฝนตกชุก ผู้ที่ปลูกไม้ดอก เช่น กุหลาบและเบ็ญจมาศ ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้ง และ โรคใบจุดสนิม ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนจะเริ่มลดลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน เกษตรกรที่มีแหล่งกักเก็บน้ำเป็นของตัวเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะแตกกอ ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกอข้าว หากพบการระบาดควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันการระบาดเป็นบริเวณกว้าง เพราะจะยากต่อการควบคุม
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • สำหรับบริเวณที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำ ที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ควรกั้นขอบบ่อให้สูงเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าบ่อ และดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดร็ว เพราะสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากโตได้ขนาดควรรีบจับขายไปก่อน
  • สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม เช่นโรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์กีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม ชาวสวนควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืชนานเกิน7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูกป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • สำหรับบริเวณที่ถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 27-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงหน้าฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสียกองอยู่ภายในสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 3 ต.ค.บริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.-3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงหน้าฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสียกองอยู่ภายในสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 3 ต.ค.บริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ