พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 ตุลาคม 2556 - 10 ตุลาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday October 7, 2013 06:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 ตุลาคม 2556 - 10 ตุลาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศจะแปรปรวนในบางช่วงอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาว โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กเพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วย
  • เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาค เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บกักน้ำเป็นของตนเอง ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

-สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดหลังน้ำท่วม เช่นโรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

-ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพราะร่างกายอาจปรับตัว ไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย

-ช่วงนี้ปริมาณฝนจะเริ่มลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝนยังคงทำใด้ แต่ควรมีปริมาณน้ำสำรองสำหรับพืชในระยะเจริญเติบโต เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

-สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่อับชื้นป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสำรวจ หากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม แล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่น
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

-ส่วนชาวสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น ไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังกลบเพื่อไม่ให้เป็น แหล่งอาศัยของโรคและศัตรูพืช

-อนึ่งในช่วงวันที่ 4-10 ต.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนมากขึ้นโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-อนึ่งในช่วงวันที่ 4-10 ต.ค.บริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่ม ความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค.มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนมากขึ้นโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

-อนึ่งในช่วงวันที่ 4-10 ต.ค.บริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่ม ความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ