พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 ตุลาคม 2556 - 15 ตุลาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday October 10, 2013 08:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 ตุลาคม 2556 - 15 ตุลาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตะวันตกของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

-ระยะนี้สภาพอากาศจะแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

-สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝน ยังคงทำได้เนื่องจากความชื้นในดินยังคงมีอยู่ แต่ควรมีน้ำสำรองสำหรับพืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันออก และตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม หากมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

-ส่วนชาวสวนผลไม้ในระยะนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบติด และโรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร โดยในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส br>- ระยะนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคหน้ากรีดยาง โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีมากขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในบริเวณแปลงเพาะปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง มีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคหน้ากรีดยาง โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค.บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ