พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 ตุลาคม 2556 - 22 ตุลาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday October 17, 2013 09:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 ตุลาคม 2556 - 22 ตุลาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 16 - 18 ต.ค. จะมีฝนกระจาย ถึงเกือบทั่วไป เกษตรกรควรกักเก็บน้ำสำรองเอาไว้ใช้ทางการเกษตร เพราะปริมาณฝนจะเริ่มลดลงในระยะต่อไป
  • ระยะนี้อุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาว
  • ช่วงที่อากาศมีอุณหภูมิลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเฝ้าระวังอย่าให้อุณหภูมิน้ำมีการเปลี่ยนแปลงมาก โดยเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนล่างและทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. - ในช่วงวันที่ 16 - 18 ต.ค. จะมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับข้าวนาปี เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหล แล้วจับไปทำลาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 16 - 18 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 16 - 18 ต.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วม เกษตรควรระวังโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคท้องร่วง

-สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและยืนต้นตายได้

  • ส่วนชาวสวนยางพารา ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกร ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ส่วนชาวสวนยางพารา ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีมากขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในบริเวณแปลงเพาะปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกร ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ส่วนชาวสวนยางพารา ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ