พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 ตุลาคม 2556 - 27 ตุลาคม 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday October 22, 2013 06:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 21 ตุลาคม 2556 - 27 ตุลาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่น รวมทั้งปรับปรุงคอกสัตว์ให้ป้องกันอากาศที่จะหนาวเย็นลงในระยะต่อไป
  • สำหรับข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงนี้ เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
  • ส่วนเกษตรกรที่ปลูกมะขามหวานควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราแป้ง ซึ่งจะระบาดในช่วงต้นฤดูหนาวทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่น รวมทั้งปรับปรุงคอกสัตว์ให้ป้องกันอากาศที่จะหนาวเย็นลงในระยะต่อไป
  • เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณการกระจายของฝนเริ่มลดลงเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรให้น้ำอย่างพอเพียงแก่พืชเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. อากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียสส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทางตอนบนของภาค อากาศจะเริ่มเย็นลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาว ไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-สำหรับพื้นที่ทางตอนล่างของภาคที่ยังคงมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-พื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคฉี่หนู โรคตาแดง โรคระบบทางเดินอาหาร และน้ำกัดเท้า เป็นต้น และเกษตรกรควรระวังอันตรายจากสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น ตะขาบ แมงป่อง และงู เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาคโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-26 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ