พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2556 - 10 พฤศจิกายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday November 5, 2013 06:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2556 - 10 พฤศจิกายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อแอและเป็นโรคได้ง่าย

-ส่วนสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราแป้งในมะขามหวาน โรคราน้ำค้างในพืชผักตระกูลกะหล่ำ และกุหลาบในไม้ดอก หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. อากาศเย็นและมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออก และตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนข้าวนาปีซึ่งอยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง ชาวนาต้องดูแลให้น้ำอย่างพอเพียง เพราะหาก ขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนโดยเฉพาะหนอนกระทู้คอรวง ซึ่งจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหาย
  • ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรเกษตรควรหลีกเลี่ยงตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง รวมทั้งกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในระยะต่อไป

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. อากาศเย็นและมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาว ไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ฝนที่ตกในระยะนี้มีปริมาณไม่เพียงพอ เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่อยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต รวมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากพืช ซึ่งทำให้ผลผลิตลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย เกษตรกรทีปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก และมะเขือควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า และโรคเน่าคอดิน
  • สำหรับพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงหน้าแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตอนบน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำทางระบายนน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

-สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำทางตอนบนของภาคควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหากโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสียงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล และทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ