พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 พฤศจิกายน 2556 - 14 พฤศจิกายน 2556

ข่าวทั่วไป Monday November 11, 2013 06:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 พฤศจิกายน 2556 - 14 พฤศจิกายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้บางช่วงอาจมีหมอก ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง ไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเตรียมแตกตาดอก เช่นลำไย และลิ้นจี่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมส่งผลต่อการแตกตาดอกของพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทันจนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ และในช่วงวันที่ 10-11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะออกรวง เกษตรกรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนโดยเฉพาะหนอนกระทู้คอรวงหรือหนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ซึ่งจะกัดกินทำให้รวงข้าวเสียหายผลผลิตลดลงได้
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหาก เปียกฝน เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตหากพบตัวที่ป่วยควรีบแยกออกจากกลุ่มเพื่อรักษา ป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวอ่อแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • แม้ปริมาณฝนจะลดลงในระยะนี้ แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนผลไม้ใควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา -เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • สำหรับในระยะต้นช่วงจะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่บริเวณริมน้ำ รวมทั้งควรวางแผนอพยพสัตว์เลี้ยง ตลอดจนอาหารสัตว์และน้ำกินสำหรับสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางและโรคราสีชมพู ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง -อนึ่งในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับในระยะต้นช่วงจะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่บริเวณริมน้ำ รวมทั้งควรวางแผนอพยพสัตว์เลี้ยง ตลอดจนอาหารสัตว์และน้ำกินสำหรับสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางและโรคราสีชมพู ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ