พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 พฤศจิกายน 2556 - 21 พฤศจิกายน 2556

ข่าวทั่วไป Monday November 18, 2013 07:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 15 พฤศจิกายน 2556 - 21 พฤศจิกายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-19 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-เนื่องจากระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไรสองจุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตเสียหาย

-ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศา ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-สำหรับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

-เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่เพาะปลูก โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และไม่ควรจุดไฟในสวนยางหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. ตอนบนของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หรือให้น้ำในเวลาเย็น เพื่อลดการระเหย ของน้ำ

-เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่เพาะปลูก โรงเรือนเก็บผลผลิตทางการเกษตร และที่อยู่อาศัย โดยหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

-สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

-ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้และใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างชองภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

-สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคในระยะต้นช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวงกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

-ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องได้ถึงโคนต้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก

-อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง2-3เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

-สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคในระยะต้นช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวงกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

-ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องได้ถึงโคนต้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ