พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 พฤศจิกายน 2556 - 26 พฤศจิกายน 2556

ข่าวทั่วไป Thursday November 21, 2013 08:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 พฤศจิกายน 2556 - 26 พฤศจิกายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสโดยมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่เย็นลงอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้ในบางพื้นที่อาจมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ และตระกูลแตง ควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างและราสนิม เป็นต้น
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง และควรกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สภาพอากาศแห้งและลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง อาจทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคมีฝนเล็กน้อยบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาว ไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • สภาพอากาศแห้งและลมแรง ข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอเต็มที่ถึงเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของแมลงหล่า และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบกำจัด

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอเต็มที่ถึงเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ และโรคไหม้คอรวง หากพบควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดใปยังต้นอื่นๆ
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

-ในระยะนี้จะมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 20 -23 พ.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร

-ในระยะนี้จะมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำต่างๆอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 20 -23 พ.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ