พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2556 - 01 ธันวาคม 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday November 26, 2013 06:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2556 - 01 ธันวาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศา เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่หนาวเย็นลงอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้บางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก
  • สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอเต็มที่ถึงเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้คอรวง และโรคเมล็ดด่าง หากพบควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดใปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในระยะต่อไปอุณหภูมิจะลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับสัตว์เลี้ยงรวมถึงทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง อาจทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • สภาพอากาศแห้งและลมแรง เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. อากาศเย็นถึงมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 -30 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • นอกจากนี้ ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • บริเวณที่มีฝน เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไป รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้
  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

-ระยะที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ประกอบกับในสัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งอพยพสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมบริเวณโคนต้นพืชนาน เกิน7วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

-ในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-1 ธ.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 25-27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-ระยะที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ประกอบกับในสัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งอพยพสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมบริเวณโคนต้นพืชนาน เกิน7วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ