พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 ธันวาคม 2556 - 15 ธันวาคม 2556

ข่าวทั่วไป Wednesday December 11, 2013 06:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 ธันวาคม 2556 - 15 ธันวาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยในระยะแรกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ และบริเวณที่มีหมอกหนา เกษตรกรควรขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง

-ในช่วงวันที่ 12-15 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองลมกับมีกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกได้บางพื้นที่เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก นอกจากนี้ เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้แก่สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-12 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. br>- ในช่วงวันที่ 9-12 ธ.ค. ปริมาณฝนมีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

-ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. ทางตอนบนของภาคจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวดังกล่าว ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะอาจทำให้เสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9-12 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศแห้งทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่และพืชผักที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่เย็นจนเกินไป เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตหากสัตว์ดังกล่าวป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และให้การรักษาป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 9-13 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ในระยะต่อไปปริมาณฝนลดลง เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • เนื่องจากอากาศที่แห้งในระยะนี้ ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 9-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรตั้งแต่จังหวัด นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

  • พื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

-สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

-ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 -3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือตลอดทั้งสัปดาห์

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 9-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้

  • พื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

-สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

-ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 -3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือตลอดทั้งสัปดาห์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ