พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 ธันวาคม 2556 - 17 ธันวาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday December 12, 2013 08:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 ธันวาคม 2556 - 17 ธันวาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ธ.ค. อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 8-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 1-3 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

-ในช่วงวันที่ 14-15 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

  • ส่วนชาวสวนผลไม้ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น และกิ่งฉีกขาดเสียหาย
  • ในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค. บริเวณยอดดอยอาจมีน้ำค้างแข็งได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังป้องกันอันตรายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-14 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 8-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-6 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับสัตว์เลี้ยงรวมถึงทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน

-ในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-14 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งเตรียมอุปกรณ์กันหนาวเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับสัตว์เลี้ยง

-ในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-14 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

-ในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

  • เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนในระยะนี้ และวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • ส่วนชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

-สำหรับภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกชุก ชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

  • พื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 11-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

-สำหรับภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกชุก ชาวสวนยางพารา และไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ