พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 มกราคม 2557 - 09 มกราคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday January 6, 2014 06:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 มกราคม 2557 - 09 มกราคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-7 ม.ค. อากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ เกษตรกรควรขับขี่ยานพาหนะด้วยความระวัดระวัง ขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
  • ระยะนี้ตอนเช้าจะมีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก หากเห็นดอกชัดเจนแล้วเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืช โดยให้ครั้งละน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น เพราะหากขาดน้ำจะทำให้การติดผลลดลง

-ระยะนี้อากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ หากขาดความอบอุ่นจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 ม.ค. อากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6- 9 ม.ค. อากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ระยะนี้สภาพอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะหนาวเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับเกษตรกรที่จุดไฟเพื่อให้ควาอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยงในระยะนี้ หากใช้งานเสร็จแล้วควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-7 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย โดยมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-28 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน และมีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆครั้งและให้น้ำพืชในช่วงเย็น เพื่อลดการระเหยของน้ำ

  • สำหรับ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นฟางข้าว ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3-7 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย โดยมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

-เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

  • สำหรับผู้ที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำ หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นน้ำจะทำให้ลดการระบาดลงไปได้

-สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก หากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดเพื่อป้องกันการระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-6 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

-สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • ส่วนบริเวณซึ่งสภาพอากาศแห้งโดยพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

-พื้นที่ซึ่งมีฝนตก ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณละการกระจายของฝนจะลดลง

  • แม้ปริมาณฝนทางตอนล่างของภาคจะลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะ โรครากเน่าโคนเน่าในพืชสวน
  • สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4 -6 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • ส่วนบริเวณซึ่งสภาพอากาศแห้งโดยพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

-พื้นที่ซึ่งมีฝนตก ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณละการกระจายของฝนจะลดลง

  • แม้ปริมาณฝนทางตอนล่างของภาคจะลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะ โรครากเน่าโคนเน่าในพืชสวน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ