พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 มกราคม 2557 - 21 มกราคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday January 16, 2014 07:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 15 มกราคม 2557 - 21 มกราคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-5 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-5 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และในช่วงที่อุณหภูมิน้ำเย็นลง ปลาจะกินอาหารได้น้อย เกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารเหลือตกค้าง และเน่าเสียในบ่อ
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อนแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-28 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง และมีลมแรง เกษตกรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่อ่อนแอเสียชีวิตได้

-ระยะนี้อากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

  • สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบสวนยางพาราและระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยบริเวณที่อยู่อาศัย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลม ตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศจะหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้ในตอนกลางวันท้องฟ้าโปร่งและมีแสงแดดจัด เกษตรกรสามารถตากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อลดความชื้น
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งและน้ำระเหยมาก ไม้ผลที่ดอกบานและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศจะหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในระยะต่อไปเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนจัดการการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดในช่วงแล้ง
  • สภาพอากาศที่แห้ง ชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. ทางตอนบนของภาค มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้ง เกษตรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย บริเวณที่ฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ในช่วงวันที่ 15 – 21 ม.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกฝั่งไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้ง เกษตรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีบริมาณฝนน้อย ชาวสวนควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ