ระหว่าง 20 มกราคม 2557 - 26 มกราคม 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
- ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อเพิ่มอุณหภูมิดินไม่ให้ต่ำเกินไป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง และมีลมแรง เกษตกรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่อ่อนแอเสียชีวิตได้
- ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง และน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าวและหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชผัก
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. อากาศหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่แห้งและน้ำระเหยมาก ไม้ผลที่ดอกบานและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไว้ด้วย
- สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่องผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือน อย่าให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดลดปริมาณอาหารลงเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย หากโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้น
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่น 1-2 เมตร
- ระยะนี้อากาศจะหนาวเย็นและลมแรง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่และไม้ผล ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
- สภาพอากาศที่แห้ง ชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
- ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค. จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้งประกอบกับในระยะที่ผ่านมาไม่มีฝนตกในหลายพื้นที่ เกษตรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้ปริมาณฝนจะลดลงกว่าระยะที่ ผ่านมา แต่ความชื้นภายในดินยังมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคเพื่อไม่ให้แพร่ไปยังต้นอื่นๆ
-ในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่งที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่น 1-2 เมตร
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้งประกอบกับในระยะที่ผ่านมาไม่มีฝนตกในหลายพื้นที่ เกษตรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้ปริมาณฝนจะลดลงกว่าระยะที่ ผ่านมา แต่ความชื้นภายในดินยังมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคเพื่อไม่ให้แพร่ไปยังต้นอื่นๆ
-ในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่งที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74