พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 มกราคม 2557 - 28 มกราคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday January 23, 2014 06:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 มกราคม 2557 - 28 มกราคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอยางเพียงพอ รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาว และให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงในโรงเรือนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งได้ในบางพื้นที่ เกษตรกร ควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ช่วงนี้อาจมีหมอกหนาได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลตรวจสอบสัญญาณไฟของรถให้ใช้ได้สมบูรณ์เมื่อต้องขับขี่ในถนนหลวง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  • สภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก ไม้ดอก และราแป้งในมะขามหวาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง และมีลมแรง เกษตกรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่อ่อนแอเสียชีวิตได้

-ระยะนี้อากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

  • สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบสวนยางพาราและระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยบริเวณที่อยู่อาศัย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. อากาศหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศจะหนาวเย็นและลมแรง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำให้สมดุลกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สภาพอากาศที่แห้งและน้ำระเหยมาก ไม้ผลที่ดอกบานและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

-ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศเย็นเกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

-ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย

  • ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค.คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกฝั่งไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่น 1-2 เมตร

-สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศเย็นเกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน

-ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ