ระหว่าง 24 มกราคม 2557 - 30 มกราคม 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
-ระยะนี้อากาศยังคงหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอยางเพียงพอ หากขาดความอบอุ่นจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและ เจ็บป่วยได้ง่าย
- สำหรับบางช่วงจะมีหมอกและหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการเกษตร หากมีความจำเป็นต้องขับขี่ในถนนหลวงควรตรวจสอบสัญญานไฟหน้าและไฟท้ายให้มองเห็นได้ชัดเจน
-ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-30 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวังขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
-เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง
-ระยะนี้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ม.ค.อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
-ระยะนี้ในบางพื้นที่อาจมีหมอกหนา เกษตรกรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะขณะหมอกลงจัด โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการเกษตร หากมีความจำเป็นต้องขับขี่ในถนนหลวงควรตรวจสอบสัญญานไฟหน้าและไฟท้ายให้มองเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง
-เนื่องจากแสงแดดจัด ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืช อย่างเพียงพอ หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชตายได้
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ม.ค.มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
-เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิทททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
-ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมส่งผลต่อการผลิดอกออกผล
- ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 24-27 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
-ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
-สำหรับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง
-ส่วนพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
-ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
-สำหรับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74