ระหว่าง 29 มกราคม 2557 - 04 กุมภาพันธ์ 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. อากาศจะอุ่นขึ้น โดยมีหมอกเพิ่มมากขึ้นและมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงในโรงเรือนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงนี้จะมีหมอกหนาได้ในหลายพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลตรวจสอบสัญญาณไฟของรถที่ใช้ในการเกษตรให้ใช้ได้สมบูรณ์เมื่อต้องขับขี่ในถนนหลวง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
- สภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและแตง ราแป้งในมะม่วงและมะขามหวาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. อากาศจะอุ่นขึ้น โดยมีหมอกเพิ่มมากขึ้น และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- ระยะนี้จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย
- สภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคไหม้ หนอนห่อใบข้าวและหนอนกอข้าว
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง และน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดินรวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. อากาศจะอุ่นขึ้น โดยมีหมอกเพิ่มมากขึ้น และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- ระยะนี้ในบางพื้นที่อาจมีหมอกหนา เกษตรกรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะขณะหมอกลงจัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
- สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง
- ส่วนไม้ผลที่ดอกบานและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยไว้ด้วย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. อากาศจะอุ่นขึ้น โดยมีหมอกเพิ่มมากขึ้นและมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นอุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย และหนอนชนิดต่างๆไว้ด้วย
- ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. อากาศจะอุ่นขึ้น โดยมีหมอกเพิ่มมากขึ้นและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- ส่วนชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- ส่วนชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74