ระหว่าง 10 กุมภาพันธ์ 2557 - 16 กุมภาพันธ์ 2557
ภาคเหนือ
มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อุณหภูมิอากาศระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่าง เพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
-ส่วนในตอนเช้าจะมีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างและราแป้งในพืชผักและไม้ดอก หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. หลังจากวันที่ 16 ก.พ.ป็นต้นไป จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีหมอกในตอนเช้า
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชอย่างเพียงพอ เนื่องจากระยะจากนี้และระยะต่อไปเป็นช่วงแล้งหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
- สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 11-16 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย
-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้
-เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 11-16 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
- เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ดอกร่วงหล่นการติดผลน้อยลง
-เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และไม้ผล ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมส่งผลต่อการออกดอกของพืช
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 10-11 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.พ.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตรส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
-สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชผักและไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง
-สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยจะมีมากในระยะนี้ ชาวสวนผลไม้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งและในระยะต่อไป
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 10-11 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.พ.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
-สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชผักและไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง
-สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยจะมีมากในระยะนี้ ชาวสวนผลไม้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งและในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74