พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ 2557 - 18 กุมภาพันธ์ 2557

ข่าวทั่วไป Thursday February 13, 2014 06:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ 2557 - 18 กุมภาพันธ์ 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ หากขาดความอบอุ่นจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่าง เพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากควันไฟจะลอยตัวขึ้นระดับบนได้น้อย แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณใกล้เคียง ทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย และอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน กลางวันอากาศร้อนส่วนกลางคืนอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง น้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบสวนยางพาราและระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยบริเวณที่อยู่อาศัย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. อุณหภูมิสูงขึ้น มีเมฆบางส่วนและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชผักสวนครัว และถั่วชนิดต่างๆ แทนการปลูกข้าวนาปรังรอบสอง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง และปริมาณฝนมีน้อย

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำให้สมดุลกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-18 ก.พ. อุณหภูมิสูงขึ้น มีเมฆบางส่วน และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง
  • สภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ดอกร่วงหล่นการติดผลน้อยลง
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ เกือบตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 14-17 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ