ระหว่าง 19 กุมภาพันธ์ 2557 - 25 กุมภาพันธ์ 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
- ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กลางวันอากาศร้อนส่วนกลางคืนอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับสภาพอากาศที่แห้งเอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่และไม้ผล
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อากาศจะแปรปรวนระหว่างอากาศร้อนสลับหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง น้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งมักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศแห้ง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
- สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบสวนยางพารา และระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยบริเวณที่อยู่อาศัย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. มีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในวันที่ 23-25 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีเมฆบางส่วนและมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชผักสวนครัว และถั่วชนิดต่างๆ แทนการปลูกข้าวนาปรังรอบสอง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง
-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง
- สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ดอกร่วงหล่นการติดผลน้อยลง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับฝนทีเตกในระยะนี้มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา และยืนต้นตายได้
- สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
- ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ.บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 -3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สำหรับฝนทีเตกในระยะนี้มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา และยืนต้นตายได้
- สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74