ระหว่าง 21 กุมภาพันธ์ 2557 - 27 กุมภาพันธ์ 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตอนบนของภาคอากาศหนาวกับ อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. มีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำจนกว่าจะเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำ โดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลเสียต่อการผลิดอกออกผลของพืช
- ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-28 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือน อย่าให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อยและปริมาณน้ำระเหยมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน เป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในวันที่ 23-27 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น ทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันมี กับเมฆบางส่วนและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมากและปริมาณฝนมีน้อย ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้เหี่ยวเฉาถาวรต้นพืชตายได้
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำและจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
- เกษตรกรควรจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
- สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อการออกดอกและติดผลของพืช หากพบควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันการระบาดเป็นบริเวณกว้างซึ่งจะยากต่อการควบคุม
- ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรเตรียมน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโตซึ่งจะส่งผลให้ ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
-ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ยางพาราที่อยู่ในระยะใบอ่อนควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ใบร่วง
-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรในไม้ผล โดยเฉพาะเพลี้ยไฟและเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ส่วนต้นที่ยังเล็กอาจตายได้
-เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- อนึ่งบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 -3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ.เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
-ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ยางพาราที่อยู่ในระยะใบอ่อนควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ใบร่วง
-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรในไม้ผล โดยเฉพาะเพลี้ยไฟและเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ส่วนต้นที่ยังเล็กอาจตายได้
-เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74