ระหว่าง 24 กุมภาพันธ์ 2557 - 02 มีนาคม 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส โดยมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 26 ก.พ.-2 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
- ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นในตอนกลางคืนและตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะดอกบานและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่าง เพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
- นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากควันไฟจะลอยตัวขึ้นระดับบนได้น้อย แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณใกล้เคียง ทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ในระยะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกและจัดหาน้ำกินให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ
- ในระยะนี้อากาศแห้งปริมาณน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน เป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
ภาคกลาง
มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาได้ ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้เหี่ยวเฉาถาวรต้นพืชตายได้
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำและจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชผักสวนครัว และถั่วชนิดต่างๆ แทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวันโดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
- ในระยะนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อนกษตรกรควรให้น้ำอย่าง เพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
- เกษตรกรควรจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
- ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรเตรียมน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโตซึ่งจะส่งผลให้ ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีเมฆบางส่วน และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีเมฆบางส่วน และมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74