พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 กุมภาพันธ์ 2557 - 04 มีนาคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday February 27, 2014 06:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 กุมภาพันธ์ 2557 - 04 มีนาคม 2557

ภาคเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กลางวันอากาศร้อนส่วนกลางคืนอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก และไม้ดอก
  • ส่วนตอนกลางวันจะมีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก และจัดหาน้ำกินให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • ผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อากาศจะแปรปรวนระหว่างอากาศเย็นสลับร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรทำร่มเงาให้แก่บ่ออนุบาล เพราะหากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้ตัวอ่อนชะงักการเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชผักสวนครัว และถั่วชนิดต่างๆ แทนการปลูกข้าวนาปรังรอบสอง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา และต้นพืชตายได้

  • เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

  • ในระยะนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรเตรียมน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโตซึ่งจะส่งผลให้ ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 26-27 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ.-4 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา และยืนต้นตายได้ รวมทั้งคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน และมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา และยืนต้นตายได้ รวมทั้งคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ