ระหว่าง 03 มีนาคม 2557 - 09 มีนาคม 2557
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
- ระยะนี้อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ส่วนตอนกลางวันจะมีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดหาน้ำกินให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลง เพื่อให้แมลงมาช่วยผสมเกสร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเพียงพอ และควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดินและใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ระยะนี้ตอนกลางวันมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ
- เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย
ภาคกลาง
ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตเสียหายได้
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- ในระยะนี้เข้าสู่ฤดูร้อนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกและจัดหาน้ำกินให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ
ภาคตะวันออก
มีเมฆบางส่วน โดยบริเวณตอนบนของภาคมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5-7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโตหากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น ผลผลิตลดลง
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลปริมาณน้ำในบ่อให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างหนาแน่น และเป็นโรคได้ง่าย
- เนื่องจากน้ำที่ระเหยมีมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 3-4 และ 8-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วนอุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในไม้ผล เช่น เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม และต้นอ่อนอาจตายได้
- สำหรับฝนทีตกในระยะนี้มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของพืชที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลและให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา แคระแกรน
- สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิด อัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในไม้ผล เช่น เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม และต้นอ่อนอาจตายได้
- สำหรับฝนทีตกในระยะนี้มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของพืชที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลและให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา แคระแกรน
- สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิด อัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74