พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 มีนาคม 2557 - 11 มีนาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday March 10, 2014 07:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 มีนาคม 2557 - 13 มีนาคม 2557

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบาง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. อากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลอุณหภูมิในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชก ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก อากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. อากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะทำให้พืชที่ปลูกขาดแคลนน้ำได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งหรือให้น้ำพืชในช่วงเวลาเย็น เพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. ตอนบนของภาคมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ต้นอ่อนอาจถึงตายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่นเกินไป จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วน อากาศร้อนขึ้นกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวร และต้นตายได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของพืช
  • เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวร และต้นตายได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของพืช
  • เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ