ระหว่าง 02 เมษายน 2557 - 08 เมษายน 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. และวันที่ 7-8 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- ระยะนี้สภาพอากาศปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สำหรับในช่วงวันที่ 4-6 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 7-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้สภาพอากาศปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
-ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
- สำหรับช่วงที่อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังอย่าให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งทำให้สัตว์น้ำช็อคตายได้ เกษตรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อปรับอุณหภูมิและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ถ้าสัตว์โตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. และวันที่ 7-8 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 4-6 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตรรวมทั้งไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง
- ช่วงที่อุณหภูมิอากาศลดลง ทำให้อุณหภูมิน้ำเย็นลง ปลาจะกินอาหารได้น้อย เกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารเหลือตกค้าง และเน่าเสียในบ่อ
- สำหรับปริเวณที่มีฝน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 4-8 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองลม กระโชกแรง และลูกเห็บตกเกษตรกรควรระวังอันตรายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ควรตรวจสอบวัสดุ และอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกขาด ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
- สำหรับฝนที่ตกจะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทางตอนบนของภาค ปริมาณฝนน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทางตอนบนของภาค ปริมาณฝนน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74