พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 เมษายน 2557 - 15 เมษายน 2557

ข่าวทั่วไป Thursday April 10, 2014 06:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 เมษายน 2557 - 15 เมษายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรดูแลสภาพของวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาวะมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด
  • ในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่ง ขณะฝนฟ้าคะนอง
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอต่อการเกษตร เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรเตรียมดินไว้ก่อนรอจนมีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. อากาศร้อนทางตอนบนของภาคกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรตรวจสอบสภาพวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาวะที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกหักของกิ่ง และการโค่นล้มของลำต้น
  • ส่วนสภาพอากาศที่ร้อนชื้น เหมาะแก่การระบาดของแมลงวันผลไม้ โดยเฉพาะมะม่วง และฝรั่ง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัดก่อนแพ่ระบาดไปยังแปลงอื่น
  • สำหรับฝนที่ตกจะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • แม้ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นจากระยะที่ผ่านมา แต่ปริมาณและการกระจายยังคงมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกควรรอให้เห็นดอกชัดเจนก่อนแล้วค่อยลงมือให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • แม้ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นจากระยะที่ผ่านมา แต่ปริมาณและการกระจายยังคงมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกควรรอให้เห็นดอกชัดเจนก่อนแล้วค่อยลงมือให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ