ระหว่าง 14 เมษายน 2557 - 20 เมษายน 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- สำหรับในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์สภาพอากาศจะแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และไม้ดอก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ผลผลิตทางการเกษตรที่ เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกร ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก ทำให้ปริมาณความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
- ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอต่อการเกษตร เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรเตรียมดินไว้ก่อนรอจนมีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
- ในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงขณะลมแรง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร อาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
- ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังมีน้อย เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นต่อไปควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม รอจนมีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 17-20 เม.ย. อากาศร้อนทางตอนบนของภาคกับมีฟ้าหลัว ในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินและเจาะผล ทำให้ผลผลิตเสียหาย
-ระยะนี้ แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังมีน้อย เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอให้มีฝนตกสม่ำสมอหรือปริมาณความชื้นในดินมีเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะต้นอ่อน
- ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจความมั่นคงแข็งแรงของวัสดุที่ผูกยึด และอุปกรณ์ที่ค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาวะใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มของกิ่งและลำต้น
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
- ระยะนี้แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายยังคงมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินดอกทำให้การติดผลลดลง หากพบการระบาดควรรีบกำจัด
- ส่วนชาวสวนยางพาราบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
- ระยะนี้แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายยังคงมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินดอกทำให้การติดผลลดลง หากพบการระบาดควรรีบกำจัด
- ส่วนชาวสวนยางพาราบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74