05 พฤษภาคม 2557 - 11 พฤษภาคม 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีอากาศร้อนสลับกับมีฝนตก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเอง และสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับชิวิตและทรัพย์สิน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มั่นคงแข็งแรงรวมทั้งซ่อมแซมหลังคาอย่าให้รั่วซึม และทำแผงกำบังฝนสาดให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูร้อน ซึ่งสภาพอากาศจะร้อนสลับกับมีฝนบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- สำหรับ พื้นที่ซึ่งความชื้นในดินมีเพียงพอ เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราเนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นทำให้ดินมีความชื้นสูงเหมาะแก่การเกิดโรคพืชจำพวกเชื้อรา
- เนื่องจากระยะต่อไปจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรควรตรวจสอบสภาพหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- บางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณยังมีน้อยและการกระจายยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้ - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง บางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
- ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมมีกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
- เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศจะมีความชื้นสูง ไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผล เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองรวมอยู่ในสวน แต่ควรกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝัง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
- ระยะต่อไปปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร.
- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศค่อนข้างแปรปรวนมีฝนสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล
- แม้จะมีฝนตกในภาคใต้ฝั่งตะวันออกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มากพอ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลควรดูแลให้น้ำอย่างเหมะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่นผลผลิตลดลง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อนอากาศค่อนข้างแปรปรวนมีฝนสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล
- สำหรับทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนที่มากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกและระยะต่อไปจะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอีก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งขุดลอกคูคลอง และสันดอนปากแม่น้ำ เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74