ระหว่าง 11 มิถุนายน 2557 - 17 มิถุนายน 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยและที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนตกหนัก
- ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ลิ้นจี่และมะม่วง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งไม่ควรปล่อยผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งอย่าให้หลังคารั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบน และทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยและที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนัก
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งและทำความสะอาด เพื่อไม่ให้ศัตรูสัตว์เช่นหนูมาอาศัยหลบซ่อน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์เท้ากีบอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
- นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. จะมีฝนตกชุก ซึ่งเป็นผลดีต่อการเกษตร เกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกข้าวไม่ควรหว่านกล้าแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงกล้า ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคไหม้
- สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกั้นขอบบ่อเอาไว้ให้พร้อม เพื่อลดความเสียหายเมื่อมีฝนตกหนัก
- นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย และที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายเนื่องจากสภาวะฝนตกหนัก
- สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง อาจทำให้มีหนอนระบาด เช่นหนอนเจาะกินขั้วผลเงาะ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เป็นต้น
- อนึ่งในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย.
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 13-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ช่วงนี้ภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
- สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มอาจเกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
- ส่วนชาวสวนผลไม้และสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวน
- อนึ่งในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย.นี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและด้านตะวันออกอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย..
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
- ช่วงนี้ภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
- สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มอาจเกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า
- ส่วนชาวสวนผลไม้และสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวน
- อนึ่งในช่วงวันที่ 11-14 มิ.ย.นี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและด้านตะวันออกอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย..
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74