พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 มิถุนายน 2557 - 19 มิถุนายน 2557

ข่าวทั่วไป Monday June 16, 2014 08:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 มิถุนายน 2557 - 19 มิถุนายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับลำไย ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรตัดแต่งช่อผล เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
  • ส่วนชาวสวนกาแฟในระยะนี้ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคผลเน่า โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบน และทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับพืชไร่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ และไม่ควรสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยโดยตรงหากมีความจำเป็นควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่อับชื้น พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ รวมทั้งหมั่นดูแลอย่าให้มีสัตว์ศัตรูสัตว์ หรือสัตว์มีพิษเข้ามาอาศัยในบริเวณโรงเรือนเพราะอาจทำอันตรายแก่สัตว์เลี้ยงได้
  • ผู้ที่ปลูกส้มโอควรระวังและป้องกันโรคที่จะเกิดกับส้มโอ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าและโรคจุดสนิมเป็นต้น โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก และหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบควบคุมโรค ก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้ รวมทั้งควรหมั่นสังเกตเพราะอาจมีโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาด โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เงาะ และลองกอง ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วง 13-14 มิ.ย. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับชาวสวนกาแฟ และยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง
  • ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ เพราะอาจมีผลที่สัตว์ทำลาย และเน่าเสีย ชาวสวนควรปลิดออกจากต้น แล้วนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังผลอื่น
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มิ.ย. ฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมี

  • ระยะนี้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับชาวสวนกาแฟ และยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 13-14 มิ.ย. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ