ระหว่าง 27 มิถุนายน 2557 - 03 กรกฎาคม 2557
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 27-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค
- พื้นที่ซึ่งมีฝนตกสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุดและดอกเน่าในเบญจมาศ และดาวเรือง โรคราสนิมในกุหลาบ เป็นต้น หากพบควรรีบกำจัดก่อนจะแพร่ไปสู่ต้นอื่นๆ
- สำหรับลำไย ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันสัตว์ศัตรูพืช เช่น ค้างคาว และผีเสื้อมวนหวานซึ่งจะเข้าทำลาย ทำให้ผลมีแผล และร่วงหล่น จะนำมาซึ่งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราลุกลามไปยังผลและต้นอื่นๆได้
- ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ลิ้นจี่และมะม่วง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว และมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 28-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค
- สำหรับบริเวณทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคที่มีฝนตกเกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ
- ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชเสียหาย และชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
- สำหรับเกษตรกรที่เตรียมดินและตกกล้าในระยะนี้ ไม่ควรหว่านกล้าแน่นจนเกินไปและหากเป็นไปได้ควรหันหัวแปลงกล้าตามทิศลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งมักระบาดในช่วงความชื้นสูง
- ในช่วงนี้มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อยในระยะต่อไป
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 27-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่ชื้นแฉะและหลังคาไม่รั่วซึม ป้องกันสัตว์เปียกชื้นอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรหมั่นสำรวจโรงเรือนเพราะอาจมีศัตรูสัตว์หรือสัตว์มีพิษเข้ามาอาศัยหลบซ่อนในโรงเรือนและทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำแปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 27-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
- ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน
- สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม ชาวสวนควรระวังอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้เปลือกและผลที่เน่าเสีย กองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของเชื้อโรคและศัตรูพืช
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-3 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 27-29 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ผู้ที่ปลูกพืชสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพูในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรตัดแต่งผล ไม่ปล่อยให้ติดผลมากจนเกินไป และกลุ่มผลหนาแน่น เพราะจะทำให้ไม่สมดุลกับต้น และดูแลรักษายากซึ่งอาจมีโรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 3 ก.ค. บริเวณทะเล อันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 27-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-3 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
- ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ผู้ที่ปลูกพืชสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพูในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 3 ก.ค. บริเวณทะเล อันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าวไว้ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74