พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 ตุลาคม 2557 - 09 ตุลาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday October 6, 2014 08:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 ตุลาคม 2557 - 09 ตุลาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมแรงหลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. ทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนสภาพอากาศจะแปรปรวนโดยอุณหภูมิต่ำสุดจะลดลงในบางวัน สลับกับมีฝนตก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งจัดเตรียมทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมหนาว
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะปลายฤดูฝนควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาวปริมาณฝนจะมีน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมแรงหลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. ทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยทางตอนบนของภาคอุณหภูมิต่ำสุดจะลดลงในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ผู้ที่ปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝนควรเลือกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังในพื้นที่นาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • สำหรับผู้ที่ปลูกไม้ผล เช่น องุ่น ส้ม และส้มโอ ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง เช่น โรคสแคป และโรคกรีนนิ่งในส้มและส้มโอ โรคแอนแทรกโนสในองุ่น เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบ ควบคุมโรคก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ที่อาจเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับในช่วงปลายฤดูฝน เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งของไม้ผลโดยตัดกิ่งที่ไขว้กัน กิ่งน้ำค้าง และกิ่งที่มีโรคและแมลงทำลาย แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และนำกิ่งที่ถูกตัดไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่น
  • พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น กว่าระยะที่ผ่านมา โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรวางแผนการระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกและจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง และพันธุ์พืช ด้วย
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย และเปลือกผลไม้กองสุมอยู่ในสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงระหว่างวันที่ 3-5 ต.ค. : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค.: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น กว่าระยะที่ผ่านมา โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย และเปลือกผลไม้กองสุมอยู่ในสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ