พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 พฤศจิกายน 2557 - 18 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Wednesday November 12, 2014 15:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 พฤศจิกายน 2557 - 18 พฤศจิกายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนวันที่ 15-16 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยและมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ในระยะนี้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยอากาศจะเย็นลง สลับกับมีฝนตก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงโคกระบือควรระวังการระบาดของโรคคอบวม ซึ่งมักระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว เกษตรควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสัตว์เลี้ยง และหมั่นสังเกตหากพบตัวที่เป็นโรคควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรักษา
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ อากาศจะเย็นลง เกษตรกรควรดูแลอย่าให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารน้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรงส่วนวันที่ 15-16 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยและมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน กับมีลมแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในระยะนี้ ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวัน ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนวันที่ 15-16 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยและมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้าโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ในระยะนี้เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรให้น้ำเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อความต้องการของพืชหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยหมั่นสังเกตหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มเพื่อรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินใบและยอดอ่อนของพืชทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหาย
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทางตอนล่างของภาคทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร พร้อมทั้งจัดทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ยังมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • สำหรับผู้ที่ทำประมงชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยควรระวังสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรรีบจับขายเพื่อลดความเสี่ยง
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 13-18 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคลม ตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร พร้อมทั้งจัดทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ยังมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • สำหรับผู้ที่ทำประมงชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยควรระวังสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรรีบจับขายเพื่อลดความเสี่ยง
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 13-18 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ