พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 พฤศจิกายน 2557 - 23 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Monday November 17, 2014 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 พฤศจิกายน 2557 - 23 พฤศจิกายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่เย็นลงในสัปดาห์นี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้ในบางพื้นที่อาจมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราแป้งในมะขามหวาน ราน้ำค้างในพืชผักสวนครัว และราสนิมในกาแฟ เป็นต้น

-ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เช่น ข้าว และข้าวโพด ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย เนื่องจากหมอก และน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้อากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ช่วงที่อากาศเย็น เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ อ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคคอบวมในโคและกระบือ
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งและลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง อาจทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สภาพอากาศแห้งและปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย ตอนบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

  • สัปดาห์นี้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และลมแรงไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเพื่อเตรียมแทงช่อดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลให้การแตกตาดอกของพืชลดลง
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ในช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากขาว โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ส่วนสวนไม้ผล ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องได้ถึงโคนต้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากขาว โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ส่วนสวนไม้ผล ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องได้ถึงโคนต้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ