ระหว่าง 29 ธันวาคม 2557 - 04 มกราคม 2558
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. – 3 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 4 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้อากาศจะหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- ช่วงที่อุณหภูมิลดลง ปลาจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงทำให้ปลาอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน และเป็นการปรับสภาพน้ำไม่ให้อุณหภูมิผิวน้ำและน้ำในระดับล่างแตกต่างกันมาก
- สภาพอากาศที่มีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก และราสนิมในกาแฟ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29 ธ.ค. – 3 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 4 ม.ค. อุณหภูมิจะสูง 2-3 องศาเซลเซียสกับมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-18 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้อากาศจะหนาวเย็นอย่างต่อเนื่องกับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือน และไม่ควรปล่อยให้ลมหนาวโกรกภายในโรงเรือน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยเป็นโรคได้ง่าย
- สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน รวมทั้งระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยบริเวณที่อยู่อาศัย
ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 29 ธ.ค.-3 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 4 ม.ค. อุณหภูมิจะสูง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้อากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สภาพอากาศแห้งกับมีลมแรง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29 ธ.ค.-3 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในวันที่ 4 ม.ค. อุณหภูมิจะสูง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร
- สัปดาห์นี้อากาศเปลี่ยนแปลงผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สภาพอากาศที่แห้งและลมแรง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- ส่วนเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 29-31 ธ.ค. และ 4 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 1-3 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ บริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร
- สัปดาห์นี้ภาคใต้ตอนบนมีอากาศแห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
- สำหรับภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
- บริเวณที่มีน้ำท่วม เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ตลอดสัปดาห์ เกษตรกรและผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร - สัปดาห์นี้ภาคใต้/ฝั่งตะวันตกมีฝนน้อย และอากาศแห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74