พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 มกราคม 2558 - 13 มกราคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday January 7, 2015 14:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 มกราคม 2558 - 13 มกราคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-10 ม.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียสส่วนในวันที่ 11-13 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2-6 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-ระยะนี้อากาศแปรปรวน อุณหภูมิจะลดลงมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

  • ช่วงที่อุณหภูมิลดลงมาก จะทำให้อุณภูมิน้ำลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันและน็อกน้ำตายได้ เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้อุณหภูมิน้ำระดับตื้นและระดับลึกไม่แตกต่างกันมากและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วยนอกจากนี้ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 8-10 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวัง และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้
  • ส่วนเกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น และกิ่งฉีกขาดเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 12-13 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในระยะนี้อากาศจะแปรปวน โดยอุณหภูมิจะลดลงมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งตรวจซ่อมแผงกำบังลมหนาวให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน เพื่อไม่ให้สัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. ทางตอนบนของภาคจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-12 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในระยะแรก ส่วนมากทางตอนบนและทางด้านตะวันตกของภาค หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลด ลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรง เรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการ เกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 7-8 ม.ค. อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมี ลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ในระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับ ตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 7 - 8 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรไม่ควรตากผล ผลิตทางการเกษตร ทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เสียหายได้
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิ ภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น และกิ่งฉีกขาดเสียหายขณะที่มีลมกระโชก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความ เร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนบนมีอากาศแห้ง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ และพืชผัก ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
  • ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-11 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนบนมีอากาศแห้ง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ และพืชผัก ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน
  • ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • บริเวณที่มีฝนตกในภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพราะระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดน้อยลง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ