ระหว่าง 02 กุมภาพันธ์ 2558 - 08 กุมภาพันธ์ 2558
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-8 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้อากาศยังคงหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงในโรงเรือนอยางเพียงพอ หากขาดความอบอุ่นจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย
- ระยะนี้จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง ในพืชไร่และพืชผัก โรคราสนิมในไม้ดอกและกาแฟ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้
- สภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคไหม้ หนอนห่อใบข้าวและหนอนกอข้าว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 6-8 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-5 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สัปดาห์นี้จะมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
- สำหรับสภาพอากาศแห้งและน้ำระเหยมากในตอนกลางวัน เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิดด้อยคุณภาพ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 2-3 และ 7-8 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- เนื่องจากระนี้และระยะต่อไปเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชตะกูลถั่ว และพืชผักสวนครัว เป็นต้น
- สภาพอากาศแห้งน้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำให้สมดุลกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 2- 3 และ 7-8 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-5 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างของภาคมีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
-สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง ชาวสวนยางพาราควรป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยเก็บกวาดกิ่งไม้และใบไม้แห้งในสวนให้โล่งเตียน รวมทั้งทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผล ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย และไรชนิดต่างๆไว้ด้วย ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิดด้อยคุณภาพ
- ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และทางตอนล่างของภาค จะมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 3-4 ก.พ. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีกำลังแรงโดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีเมฆบางส่วน มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 4-8 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- สำหรับสภาพอากาศแห้ง น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
- เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
- อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.พ. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงโดยจะมีคลื่นสูง 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74