ระหว่าง 11 กุมภาพันธ์ 2558 - 17 กุมภาพันธ์ 2558
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ในระยะนี้อากาศจะแปรปวน โดยมีอากาศหนาวเย็นสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนควันไฟจะ ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนได้ง่าย
- ช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น และกิ่งฉีกขาดเสียหาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 11-13 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 14-16 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ในระยะนี้อากาศจะแปรปวน โดยมีอากาศหนาวเย็นสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
- ในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะฝนที่ตกอาจทำให้เสียหายได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 11-12 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 13-17 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ในระยะนี้อากาศจะแปรปวน โดยมีอากาศหนาวเย็นสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งหรือให้น้ำพืชในเวลาเย็น เพื่อลดการระเหยของน้ำ
- ในช่วงวันที่ 13 - 17 ก.พ จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 11-12 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 13-17 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
- ในระยะนี้อากาศจะแปรปวน โดยมีอากาศหนาวเย็นสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ในช่วงวันที่ 13-17 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีลมกระโชกแรงบางพื้น เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย รวมทั้งกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
- ในช่วงวันที่ 11-12 ก.พ. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างของภาค จะมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13-17 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
- ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคสภาพอากาศจะแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณดินโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนเกษตรกรที่มีน้ำเก็บกักไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
- ช่วงวันที่ 13 -17 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับต้นพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา และควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
- มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคสภาพอากาศจะแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
- ระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณดินโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
- ส่วนเกษตรกรที่มีน้ำเก็บกักไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
- ช่วงวันที่ 13 -17 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับต้นพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา และควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74